วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5


เนื่องจาก (วันที่ 3 ม.ค. 62) สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์พายุปาบึก พัดผ่านจังหวัดยะลาและภาคใต้ ทำให้พวกเราเดินทางมาเรียนไม่สะดวก ประกอบกับอาจารย์ติดประชุมผู้บริหาร จึงมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ และให้นักศึกษาทำกิจกรรม  ดังนี้
    1) ทำแบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 1 และ 2 ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
       - แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) บทที่ 1
       - แบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 2 
    2) ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 3 ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
    3) ศึกษาและสรุปผลการเรียนรู้จากสไลด์ชุดนี้ในแหล่งเรียนรู้ของรายวิชาลงในเว็บบล็อกของตนเอง
    4) ศึกษางานที่มอบหมายในบทที่ 3 เพื่อเตรียมทำโครงงาน (Project)
เพื่อให้แต่ละทีมเตรียมเลือกโรงเรียนที่ต้องการจะศึกษาระบบสารสนเทศในโรงเรียนและนำข้อมูลความต้องการมาจัดทำต้นแบบ (Prototype) ระบบสารสนเทศในโรงเรียน ซึ่งเป็น Project แต่ละทีมต่อไป


system analysis and design
การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

ระบบ คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน
การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการในการค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบ
การออกแบบระบบ คือ การนำผลการวิเคราะห์ระบบมาพัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพโดยเริ่มจากการออกแบบงานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



ความจำเป็นของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
1 การติดตั้งระบบโดยไม่มีการวางแผนอาจนำไปสู่ความไม่พอใจของผู้ใช้งานได้
2 โครงสร้างการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
3 ชุดกระบวนการที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงธุรกิจผ่านการใช้ระบบคอมพิวเตอร์

บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
1 นักวิเคราะห์มีบทบาทสำคัญในโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2 ต้องเข้าใจวิธีการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ
3 นักวิเคราะห์ระบบอาจทำหน้าที่ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ

ลักษณะของนักวิเคราะห์ระบบ
  • แก้ปัญหา
  • ติดต่อสื่อสาร
  • มีจรรยาบรรณในอาชีพและวิชาชีพ
  • มีวินัยและมีแรงจูงใจในตนเอง

ระบบสารสนเทศในองค์กร มีดังนี้
ระบบประมวลผลรายการ (TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ system analysis and designเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่าง เครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน

ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ (  KWS )
สนับสนุนพนักงานมืออาชีพเช่นวิศวกรและแพทย์

ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)
รวบรวมและใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาเฉพาะที่นำไปสู่ข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS )
เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)
เป็นระบบช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (ESS)
เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS)
เป็นการผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อสนับสนุน การประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง

การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CSCWS)
รูปภาพที่เกี่ยวข้องเป็นระบบการทำงานช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย อินเทอร์เน็ต

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Lift Cycle-SDLC) โดยทั่วไป SDLC มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การทำความเข้าใจกับปัญหา
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบระบบ
5. การพัฒนาระบบ และจัดทำเอกสาร
6. การทดสอบ และบำรุงรักษาระบบ
7. การส่งเสริมและการประเมินผลระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น